วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาการเสียของ Mainboard , CPU , RAM

 อาการเสียของเมนบอร์ด
สำหรับอาการเสียที่เกิดจากเมนบอร์ดนั้น  อาการต่างๆที่เสียนั้นบางครั้งอาจจะไม่ได้เป็นเพราะเมนบอร์ดเองก็ได้  บางครั้งอาจเกิดจาก แรม หรือว่าตัวของซีพียูเองก็ได้  ดังนั้นการวิเคราะห์อาการเสียนั้นอาจจะทำได้ค่อนข้างยากสักหน่อยสำหรับผู้ใช้เครื่องโดยทั่วๆไป

อาการที่เปิดติดบ้างไม่ติดบ้าง ก็คือ เมื่อเราเปิดเครื่องในครั้งแรกนั้นเครื่องเปิดติดหลังจากนั้นเราก็ใช้ เครื่องไปได้เรื่อยๆและไม่มีอาการผิดปกติใดๆหลังจากเราใช้เครื่องเรียบร้อย แล้วเราก็ปิดเครื่องหลังจากเราทำงานอย่างอื่นเสร็จ  พอเรามาเปิดเครื่องอีกครั้งเครื่องคอมกลับเปิดแล้วไม่มีภาพออกทางหน้าจอเลย อากการเช่นนี้ถ้าเราไม่แน่ใจว่าใช่บอร์ดหรือเปล่าถ้าเรามี ซีพียูหรือว่าแรม ตัวอื่นๆควรจะนำมาลองเปลี่ยนดูก่อนหากว่าอาการเดิมยังคงมีอยู่ก็สันนิษฐาน ได้เลยว่าน่าจะมาจากเมนบอร์ดเสีย  เพราะเท่าที่ผมได้พบมาอาการนี้มาจากเมนบอร์เป็นส่วนใหญ่

อาการไม่สามารถมองเห็นฮาร์ดิสที่เราต่ออยู่ได้(detect ฮาร์ดดิสไม่เจอ)
อาการนี้จริงๆแล้วอาจจะมาจากตัวของฮาร์ดดิสเองก็ได้ การทดสอบนั้นไม่ยากครับเพียงแต่เราเปลี่ยนสลับสายต่อระหว่างเมนบอร์ดกับฮาร์ดดิสจากที่เคยต่ออยู่เดิม(IDE 1)  ไปต่ออีกช่องหนึ่ง(IDE2)  หากว่าเครื่องสามารมองเห็นฮาร์ดดิสก็แสดงว่าช่องต่อฮอาร์ดดิสบนเมนบอร์ดเสีย อันนี้เมนบอร์ดเสียอย่างแน่นนอน

อาการเครื่องไม่ยอมบู๊ต
โดยส่วนมากแล้วอาการเสียในลักษณะนี้  เครื่องมักจะไม่ยอมเทสอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงอยู่ อาการจะออกตั้งแต่ตอนที่เราเปิดเครื่องขึ้นครั้งแรก  ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นครั้งแรกนั้น  เครื่องจะต้องทำการเทสแรมแล้วจึงเทสอุปกรณืที่ต่อพ่วงอยู่  โดยทั่วไปแล้วอาการเสียนั้นเครื่องจะไม่ยอมแม้แต่จะเทสแรมแต่จะค้างอยู่อย่างนั้นและไม่ยอมทำการเทสแรม ควรระวังให้ดี อาการเช่นนี้ค่อนข้างเหมือนกับแรมเสียก็ได้(สามารถอ่านได้จากหัวข้ออาการเสียจากแรม)

อาการเม้าส์กับคีย์บอร์ดใช้ไม่ได้
อการนี้ถ้ามองให้ลึกๆแล้วอาจจะเกิดจากตัวจ่ายไฟมีปัญหา  หรือไม่ก็คีย์บอร์ดกับเม้าส์เสีย หรือเสียบสายไม่สนิทก็อาจเป็นได้ อาการเสียแบบนี้คงต้องลองเปลี่ยนเม้าส์หรือคีย์บอร์ดลองดูก่อนถ้าหากยังเป็น อยู่ก็แสดงว่าเมนบอร์ดเสียมีปัญหาแต่ควรระวังเรื่องตัวจ่ายไฟด้วย

ช่องเสียบแบบ PCI ใช้ไม่ได้
อันนี้เช็คยากสักหน่อย อย่างแรกก็คงต้องทำการย้ายสล็อตของการ์ดที่ต่อพ่วงอยู่ก่อนว่า  เมื่อเราย้ายแล้วเครื่องยังไม่สามารถใช้ได้ปัญหาตรงนี้อาจมาจากอุปกรณ์ที่มาต่อพ่วงอยู่เสียหรือไม่  ควรหาการ์ดที่สามารถนำมาทดสอบได้มาทดสอบ  หากว่าเมื่อทำทุกอย่างแล้วยังไม่หายอีก  ก็แสดงว่าช่องสล๊อด PCI เสียนั่นก็คือเมนบอร์ดเสีย

อาการใช้รันบัสสูงกว่า 66 ไม่ได้
อาการในลักษณะนี้ก็คือจะไม่สามารถรันที่บัส 100 หรือ 133 ได้ บางครั้งเราอาจนึกเอาว่าตัวของซีพียูเสีย แต่ที่จริงไม่ได้เสีย อาการแบบนี้ตรวจสอบค่อนข้างยาก นอกจากว่าเราจะมีเมนบอร์ดตัวอื่นๆอยู่ แล้วนำมาทดลองเทสดู หรือสำหรับผู้ที่ใช้ผ่านการ์ดแปลงควรจะระวังด้วยเพราะอาจเป็นที่การ์ดแปลงเสียก็ได้อาการลักษณะนี้คือเปิดไม่ติดเลย

อาการใช้ไปสักพักประมาณ 5-10 นาที แล้วแฮ้งค์
หากเกิดอาการในลักษณะนี้ให้สังเกตให้ดีนะครับ  สังเกตที่เม้าส์คือเมาส์จะขยับไม่ได้  ส่วนใหญ่เกิดกับเมนบอร์ดประเภท BUILT IN จำพวกเมนบอรืที่มีทั้ง SOCKET 370 และ SLOT 1 รวมอยู่ในตัวเดียวกัน อาการนี้ส่วนใหญ่จะใส่ซีพียูที่ SOCKET 370  แล้วจะเกิดอาการนี้ขึ้นมา

อาการต้องกดปุ่มรีเซ็ทหลายๆครั้งถึงจะเปิดติด

อาการนี้เกิดจากชิปเซ็ทที่อยู่บริเวณใกล้ๆกับช่องต่อสายฮาร์ดดิส หรือโดยส่วนใหญ่อยู่ใกล้ๆกับตัวของซีพียู สังเกตง่ายๆ ชิปเหล่านี้โดยส่วนใหญ่จะติดแผ่นระบายความร้อน  แต่อาการที่พบก็คือ เครื่องเปิดไม่ติดในครั้งแรก  แต่พอเปิดและกดปุ่มรีสตาร์ทสักพักเครื่องจะติดเอง  จุดสังเกตก็คือ เจ้าชิปตัวที่ว่านี้กลับร้อนเร็วมาก 


 อาการเสียของแรม
ปัญหาของแรมที่พบบ่อย ๆ และการแก้ไข


มีเสียงร้องหลังจากเปิดเครื่องและไม่มีภาพ มีสาเหตุดังนี้
1. เสียบ RAM ไม่แน่น
วิธีแก้ไข : ให้ลองเปิดฝาเครื่องแล้วขยับ RAM ให้แน่น

2. เกิดจากหน้าสัมผัสของ RAM ไม่สะอาด
วิธี แก้ไข : เปิดฝาเครื่องออกมาแล้วให้ลองขยับ RAM ให้แน่น ถ้ายังไม่หายให้ลองถอด RAM ออกมาทำความสะอาดหน้าสัมผัส โดยใช้ยางลบดินสอหรือน้ำยา

3. เกิดจากการเสียบ RAM ผิดแถว
วิธี แก้ไข : เมนบอร์ดบางรุ่นต้องเสียบ RAM ไล่จากแถวที่ 1 ขึ้นไป ให้ลองนำ RAM มาเสียบที่ Slot ที่ 1 และไล่ลงไปในกรณีที่มี RAM หลายแถว

4. RAM ที่ใส่ไปไม่ตรงกับชนิดที่เมนบอร์ดรับได้
วิธี แก้ไข : ตรวจสอบกับคู่มือเมนบอร์ดว่าเป็นชนิดที่ถูกต้องและขนาดที่ไม่เกินที่เมน บอร์ดกำหนดในแต่ละแถว ถ้าไม่ถูกให้นำ RAM ชนิดที่ถูกต้องมาใส่

5. เกิดจากความผิดผลาดของกระบวนการเช็คตอนเปิดเครื่อง ( POST) ของไบออส
วิธี แก้ไข:ในบางครั้งจะจดจำการติดตั้งฮาร์ดแวร์ในตำแหน่งต่างไว้และทำการตรวจ เช็คทุกครั้งที่เปิดเครื่องดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง หรือสลับตำแหน่งของสล็อตที่เสียบอุปกรณ์ต่างๆ เครื่องอาจจะเช็คว่าเกิดความผิดผลาดได้ โดยที่จริง ๆ แล้วไม่ได้มีอุปกรณ์ใด ๆเสียเลยแต่เพราะเครื่องได้จดจำข้อมูลตำแหน่งของสล็อต ที่เสียบ ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ไว้ แต่ยังไม่ได้ทำการอัพเดทหรือ รีเฟรช (Refresh ) ทำให้เมื่อเปิดเครื่องแล้วถึงขั้นตอนการตรวจสอบ เครื่องจะฟ้องว่าฮาร์ดแวร์
ผิด ผลาด วิธีแก้คือ ให้ลองสบับแถวของ RAM แล้วลองเปิดเครื่องใหม่ เพื่อให้เครื่องจดจำตำแหน่ง หรือ Reset ไบออส โดยการถอด ถ่านของไบออสบนเมนบอร์ดออกสักครู่หนึง แล้วกลับเข้าไปใหม่ จากนั้นลองเปิดเครื่องใหม่อีกครั้ง

6. RAM เสีย
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกัน ถ้าหากใช้ได้แสดงว่า RAM เสีย ถ้า RAM เสียก็ต้องซื้อมา เปลี่ยนสถานเดียว

เปิดเครื่องแล้ว แต่ Test Memory (RAM) ไม่ผ่านมีสาเหตุดังนี้
1. สล็อตเสียบ RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : เป็นไปได้ที่เมื่อใช้ไปแล้ว สล็อตเสียบ RAM เสื่อมคุณภาพ ให้ลองย้าย RAM ไปใส่ในสล็อตอื่นแล้วลองบู๊ตเครื่องใหม่

2. RAM เสียหรือเสียมคุณภาพ
วิธีแก้ไข : ให้ลองนำ RAM ตัวอื่นที่ใช้ได้มาเสียบแทนในช่องเดียวกันถ้าผ่านแสดงว่า RAM เสีย ก็ต้องซื้อมาเปลี่ยนใหม่

ใช้แล้วเครื่องแฮงก์ง่ายมีสาเหตุดังนี้
1. อาจเกิดจากการตั้งค่าความถี่ที่ใช้กับ RAM ไม่ถูกต้อง
วิธี แก้ไข : ดูที่สเปค (Spec) ของ RAM สามารถทำงานที่ความถี่เท่าไร และให้ตั้งให้ถูกต้อง โดยเซ็ทที่ BIOS หรือเมนบอร์ด บางรุ่นต้องเซ็ทที่ Jumper บนเมนบอร์ด โดยสามารถดูรายละเอียดจากคู่มือของเมนบอร์ดนั้นๆ ได้

2. อาจเกิดจากการตั้งค่าการหน่วงเวลา (Wait state) ไม่ถูกต้อง
วิธีแก้ไข : กลับไปตั้งค่าให้ถูกต้องเหมือนเดิม หรือตั้งค่าเป็นแบบ by SPD จะสะดวกที่สุด

3. อาจเกิดจากการเลือกคุณสมบัติพิเศษ เช่น Fast page , EDO ไม่ถูกต้อง
วิธี แก้ไข : ควรศกษาคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ ให้เข้าใจอย่างละเอียดก่อนที่จะเลือกใช้คุณสมบัตินั้น ๆ ถ้าไม่แน่ใจให้แก้กลับมาที่ Load Detault Setup หรือ Disable เพราะถ้าเลือกใช้คุณสมบัติพิเศษ โดยที่ RAM ตัวนั้นไม่รองรับ ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานได้

4. อาจเกิดจาก Clip RAM ร้อนเกินไป
วิธี แก้ไข : ในกรณีทีบางครั้ง RAM ทำงานหนักและเกิดอาการร้อนเกินไปจะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ ดังนั้นถ้าต้องการเสถียรภาพ ในการทำงานมากขึ้น เราควรปรับปรุงระบบระบายความร้อนภายในเครื่องคอมพ์ให้ดีขึ้น เช่น เพิ่มพัดลมระบายความร้อนภายในเครื่อง วางคอมพ์ไว้ในที่ที่มี อากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือห้องแอร์ก็จะยิ่งดี

5. อาจเกิดจาก RAM เสื่อม
วิธี แก้ไข : RAM บางตัวที่ใช้งานไปนาน ๆ Clip บางตัวบน RAM อาจเสื่อมได้โดยที่เครื่องยังสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อเครื่อง ได้ใช้งานมาถึงตำแหน่งที่เสื่อมบนแรมตัวนั้น จะทำให้เกิดการทำงานผิดพลาดได้ วิธีแก้คือ ลองถอด RAM ตัวที่คิดว่าเสื่อมออก และนำ RAM ตัวอื่นที่ดีมาใส่แทน และลองใช้งานดู ถ้าทำงานได้ตามปกติแสดงว่า RAM ตัวนั้นเสีย ให้ซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยน หรือถ้าอยู่ในระยะประกันให้ลองเปลี่ยนตัวใหม่ แต่อาการแบบนี้ขอบอกว่าพิสูจน์ยากนิดนึง บางครั้งเราต้องรอจังหวะ


  อาการเสียของซีพียู

   •  การเพิ่มความเร็วสัญญาณนาฬิกาหรือการ Overclock : เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ของผู้ใช้ที่ค่อนข้างเชี่ยวชาญในการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เป็นเพราะว่าผู้ใช้เหล่านั้นจะทราบดีว่าความเร็วของซีพียูที่ระบุหรือกำกับ มากับตัวซีพียูแต่ละตัวนั้น ไม่ใช่ค่าความเร็วสูงสุดที่แท้จริง แต่เป็นเพียงค่าความเร็วที่เหมาะสมสำหรับทำให้การทำงานของซีพียูนั้นเกิด ความเสถียรมากที่สุด ซึ่งผู้ใช้เหล่านี้ก็มักจะมีการดัดแปลงให้ซีพียูเหล่านี้มีความเร็วในการทำ งานสูงขึ้นกว่าที่กำกับไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ผลเสียที่ตามมาก็คืออายุการใช้งานของซีพียูที่สั้นลงและความร้อนที่เกิด ขึ้นนั้นจะสูงขึ้นมากกว่าปกติจนเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์นั้น แฮงค์บ่อยๆ
       •  การเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพ : นอกจากสาเหตุอันเนื่องมาจาก การ Overclock แล้วนั้น ในการเลือกใช้ฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูที่ไม่มีประสิทธิภาพก็เป็น อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ขึ้นได้ เพราะหน้าที่ของฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูก็คือ นำพาความร้อนจากซีพียูมาเก็บไว้ที่ตัวแล้วใช้พัดลมเป่าเพื่อระบายอากาศ เพราะฉะนั้นถ้าวัสดุที่นำมาใช้ทำฮีตซิงค์ไม่มีคุณสมบัติของการนำพาความร้อน ที่ดีพอ และพัดลมระบายอากาศเป่าระบายความร้อนออกไปได้ไม่ทัน รวมทั้งใช้สารเชื่อมความร้อน หรือซิลิโคนที่ไม่มีคุณภาพ ผลที่ตามมาก็คือเครื่องแฮงค์ ในปัจจุบันจะมีฮิตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูให้เลือกซื้ออยู่อย่างมาก มาย หลายรุ่น หลายยี่ห้อ ดังนั้นจึงต้องเลือกฮีตซิงค์และพัดลมระบายอากาศซีพียูให้เหมาะสมและมี ประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งานด้วย
 
แหล่งข้อมูล :  http://www.csc.kmitl.ac.th/faq/31-general/198-2553-08-04-03.html
                   http://kukkuu.8m.com/mainboard.htm
                   http://www.pantown.com/board.php?id=16678&area=3&name=board1&topic=120&action=view
                 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น