วันจันทร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อาชีพ นักออกแบบเว็บไซต์

นิยามอาชีพ

ผู้ประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designer ได้แก่ผู้ออกแบบ และเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการนำเสนอในเว็บไซต์ เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ โครงการรณรงค์ต่างๆ รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูลของสถาบันหรือ หน่วยงานของสถานประกอบการที่มอบหมายให้จัดทำ หรือสิ่งอื่นๆ เพื่อเสนอต่อสาธารณชน ทางระบบเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ต

หน้าที่ของอาชีพออกแบบเว็บ

            web design มีหน้าที่ในการออกแบบจัดทำเรื่องราวที่เกี่ยวกับกราฟิค สีสัน เลย์เอาท์ ของหน้าเว็บเพจทั้งหมด ตามที่ webmaster ได้ทำการกำหนดทิศทางรูปแบบของเว็บไว้แล้ว หรืออาจะนำเสนอสิ่งสร้างสรรให้เว็บมาสเตอร์พิจารณา ผู้ที่จะทำหน้าที่เว็บดีไซด์ควรมีความคิดในเชิงสร้างสรรมีจิตนาการ สามารถใช้งานโปรแกรมประเภท กราฟิค ดีไซด์ ได้อย่างคล่องตัว เช่น โปรแกรม Photo Shop, Flash เป็นต้น และเป็น Creator ที่ดี ไม่ลอกผลงานผู้อื่น หรือหากมีการนำกราฟิคจากที่อื่นมาใช้ควรให้เครดิตผู้สร้างสรร

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

ผู้ประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designerต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำตามระเบียบบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ มีปฏิภาณไหวพริบดี
2. มีความสามารถในการเขียนโปรแกรมการสร้างเว็บไซต์ และออกแบบได้ เช่น Java HTML
3. มีความคิดสร้างสรรค์ ชอบในงานศิลป และสนใจในการใช้ระบบงานคอมพิวเตอร์
4. มีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพร้อมที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
5. เป็นคนที่มีมุมมองไม่เหมือนคนอื่น และมีแง่มุมหลายมุมมอง
6. เป็นคนทันสมัย มีความรู้รอบตัว มีความคิดกว้างไกล และมีจินตนาการ
7. มีทัศนะคติที่ดี ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อลูกค้าและสังคม
8. มีความซื่อสัตย์ในอาชีพ ไม่ใช้ความรู้ ความสามารถในการดัดแปลงข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ควรจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเนื่องจากหน่วยงานที่ว่าจ้าง และ ผู้เข้าชมเว็บไซต์อาจจะต้องการความช่วยเหลือและคำแนะนำในด้านการใช้งานจึงต้องมีความสามารถชี้แจง ให้ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานให้แก่ผู้ใช้ระบบงาน รวมทั้งต้องรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากผู้อื่น


ผู้ที่จะประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designer ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ 

            เมื่อสำเร็จการศึกษาตามกฎ ข้อบังคับของกระทรวงศึกษาธิการ หรือสำเร็จการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และสนใจศึกษาในการเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างเว็บไซต์ รวมทั้งมีความสามารถในเชิงศิลป์ หากมีประสบการณ์และประสบความสำเร็จในการสร้างเว็บไซต์จะยิ่งเป็นที่สนใจในการว่าจ้าง โดยอาจจะโฆษณา รับเขียนเว็บไซต์ทางระบบอินเตอร์เน็ตหรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านคอมพิวเตอร์ มีความรู้ในการเขียนภาษาคอมพิวเตอร์มีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
สำหรับผู้ที่สนใจประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designer แต่ไม่ได้ศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์มาในระดับปริญญาตรีแต่มีความสนใจในการเขียนโปรแกรมสร้างเว็บไซต์ อาจเข้ารับการอบรมตามสถาบันสอนคอมพิวเตอร์ทั่วไป และหากมีความสามารถในการออกแบบเว็บไซต์และมีความเชี่ยวชาญมากพอก็สามารถประกอบนักออกแบบเว็บไซต์-Website-Designerได้เช่นกัน


โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ

ผู้ที่มีความสามารถในการออกแบบเว็บไซต์ หากมีความสามารถและมีทักษะในการสื่อสารที่ดี จะมีโอกาสได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการในการออกแบบเว็บไซต์ (Web Master) สำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพอิสระ สามารถที่จะตั้งกิจการของตนเองโดยรับเขียนโปรแกรมและออกแบบเว็บไซต์ให้หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานประจำ หรือหากมีความสามารถในการสอนและมีความเชี่ยวชาญในภาษาคอมพิวเตอร์ อาจจะรับสอนเป็นรายได้พิเศษได้ตามสถาบันอบรมคอมพิวเตอร์ ทั่วไป

การนำอาชีพมาประยุกต์กับกุศลกรรม  10
- งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ คือ
- งดเว้นจากการลักขโมยสิ่งของ คือ ไม่ลักขโมยแบบงานที่เพื่อนร่วมงานได้ออกแบบไว้ มาเป็นของตนเอง
- งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ออกแบบเว็บที่เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจาร
- งดเว้นจากการพูดเท็จ คือ ไม่พูดเท็จว่าการออกแบบเว็บของตนนั้นเสร็จสิ้นแล้ว
- งดเว้นจากการพูดส่อเสียด คือ ไม่ออกแบบเว็บที่มีคำพูดที่หยาบคายส่อเสียดว่าร้ายคนอื่น
- งดเว้นจากการพูดวาจาหยาบคายที่เผ็ดร้อน คือ ไม่ควรด่าว่าคนอื่นในเว็บที่หยาบเผ็ดด้าน จนทำให้บุคคลนั้นเสียหาย
- งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ คือ ไม่ควรพูดอะไรที่เกี่ยวกับการออกแบบเว็บที่เกินจริง
- ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน คือ ผู้ออกแบบเว็บไม่ควรโลภอยากได้แบบเว็บของบุคคลอื่นโดดเด็ดขาด
- ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่ควรปองร้ายคนอื่นด้วยวิธีการต่างๆที่อยู่บนเว็บไซต์
- เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม คือ เห็นว่าบุญมีจริงบาปมีจริง ผลของบุญมี ผลของบาปมี คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว นรกมี สวรรค์มี และนิพพานก็มี โลกนี้โลกอื่นมี ชาตินี้ชาติหน้ามี


 


อ้างอิง 
http://www.dwthai.com/Article/web_position.htm
http://www.jobhoteltravel.com/learning/100work/work310.php

วิชาจริยธรรมคอมพิวเตอร์

1.บทบาทหน้าที่อาชีพคอมพิวเตอร์
 ความหมายของ  “บทบาท”  คือ  พฤติกรรมหรือการกระทำที่บุคคลแสดงออกตามตำแหน่งหน้าที่ที่ตนได้รับ  การแสดงออกนั้นย่อมผูกพันกับความรับผิดชอบของผู้ดำรงตำแหน่งกับความคาดหวังของผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น  (สรรเพชร  อิสริยวัชรากร, 2546 : 194)
       บทบาทของนักคอมพิวเตอร์  จึงหมายถึง  พฤติกรรมหรือการกระทำที่นักคอมพิวเตอร์แสดงออกในฐานะกลไกที่มีส่วนผลักดันความเจริญก้าวหน้า  ของสังคมด้านเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีสารสนเทศ  พฤติกรรมเช่นนี้เป็นที่คาดหวังของสังคมว่า  นักคอมพิวเตอร์จึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้  ความสามารถ  และเป็นผู้มีศีลธรรม  คุณธรรม  จริยธรรม  ในระดับที่ปัญญาชนพึงปฏิบัติ
        บทบาทของนักคอมพิวเตอร์  แบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ  คือ 

1.  บทบาททั่วไป  เป็นบทบาทที่จำเป็นต้องกระทำ  เพื่อการดาเนินกิจการในการประกอบอาชีพ  มีดังนี้
                  1.1  มีความเคลื่อนไหวในทางที่ทันยุคทันสมัย  ศึกษาหาความรู้ใหม่  เพื่อปรับปรุงและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

                   1.2  มีความศรัทธาในวิชาชีพ  และซื่อสัตย์ต่อจรรยาวิชาชีพ
                  1.3  มีความเป็นตัวของตัวเอง  กล้าแสดงออกเพื่อเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ  ต่อสาธารณะ  หรือเพื่อพัฒนาวิชาชีพของตนโดยสุจริต
                    1.4  ประพฤติและวางตนอยู่ในกฎแห่งศีลธรรม  จรรยา  อันเป็นบรรทัดฐานที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคม
                    1.5  ประกอบอาชีพโดยสุจริตมีหลักแห่งจริยธรรมประจำใจ
  2.  บทบาที่คาดหวัง  เป็นบทบาทที่สังคมปรารถนา  หรือคาดหวังให้นักคอมพิวเตอร์แสดงออกต่อสังคม  ได้แก่
                   2.1  บทบาทต่อสังคม  มีดังนี้
                            -      ส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
                           -      ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาความรู้ทางคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารทนเทศ
                             -      ร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในการพัฒนาประเทศ
                   2.2  บทบาทต่อองค์กรทางวิชาชีพ  มีดังนี้
                              -      รักษาภาพพจน์ที่ดีขององค์กรทางวิชาชีพ
                              -      สร้างชื่อเสียงให้กับองค์กรทางวิชาชีพ
                              -      ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยจรรยาวิชาชีพ
2.จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์
จริยธรรมในอาชีพคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องการของสถานประกอบการเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้สถานประกอบการได้บุคลากรในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์ที่มีคุณสมบัติที่เพียบพร้อม คือ
1. มาทำงานก่อนเวลาเข้าทำงานและเลิกหลังเวลาทำงาน 15 นาที
2. ปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ
3. ความมีวินัย
4. มีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่
5. มีมนุษยสัมพันธ์
6. มีความสนใจใฝ่รู้
7. ความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ความอดทนอดกลั้น
3.บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์ 
           งานอาชีพคอมพิวเตอร์เป็นงานที่ต้องรับผิดชอบร่วมกับบุคคลหลายระดับ  บางครั้งอาจเป็นบุคคลต่างสาขาอาชีพ  ดังนั้นการประกอบอาชีพงานคอมพิวเตอร์จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงบุคลิกภาพที่เหมาะสมรวมทั้งผู้มีอาชีพนักคอมพิวเตอร์จะต้องมีความรู้  ความชำนาญในวิชาชีพด้วยและจำเป็นต้องเรียนรู้และฝึกฝนในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าผู้มาติดต่อ  นายจ้าง  รวมทั้งกลุ่มเป้าหมายต่าง  ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสายงานทั้งทางตรงและทางอ้อม 

            
งานของนักคอมพิวเตอร์จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่นั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ  แต่ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งก็คือ  บุคลิกภาพ   คนส่วนมากแล้วมักจะคิดว่านักคอมพิวเตอร์จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้  ความสามารถดี  มีประสบการณ์ในการทำงานมาเป็นอย่างดีแต่ลืมนึกไปถึงส่วนประกอบปลีกย่อยที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง  คือ  บุคลิกภาพ  ถึงแม้บุคลิกภาพจะเป็นองค์ประกอบเสริม  แต่ก็เป็นการทำให้ภาพลักษณ์โดยรวมที่ทำให้งานอาชีพประสบผลสำเร็จได้ไม่แพ้องค์ประกอบด้านอื่นๆ  บุคลิกภาพของนักคอมพิวเตอร์ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้