1. RS-232 ย่อมาจาก Recommended Standard-232 เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลแบบอนุกรม กำหนดโดย EIA (Electronics Industry Association) หรือ สมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของอเมริกา ใช้กับการสื่อสารแบบจุดต่อจุด โดยใช้สายเชื่อมต่อ DB แบบ 25 และ 9 เข็ม ที่ไม่ประสานจังหวะระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่อพ่วง มีการทำงานแบบสองทางพร้อมกัน (Full-duplex) โดยอาจใช้สายสัญญาณอื่นร่วมเพื่อทำแฮนด์เชค (Hand-shake) หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้มาตรฐาน RS-232 จำกัดความยาวสายไว้ที่ 50 ฟุด (หรือประมาณ 15 เมตร) สำหรับการส่งสัญญาณที่ความเร็ว 19,200 บิทต่อวินาที โดยที่ความยาวสายจะต้องสั้นลงถ้าต้องการสื่อสารที่ความเร็วสูงขึ้น
DB9-female ตัวภรรยา
2. สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT (Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มีเส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวนอยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุนการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbps
3. Serial port เป็นส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกของคอมพิวเตอร์ เช่น modem mouse keyboard เป็นต้น โดยรูปแบบการสื่อสารของพอร์ทชนิดนี้นั้นจะเป็นการส่งข้อมูลแบบทีละบิต บนมาตรฐานการส่งข้อมูลแบบ RS-232 ซึ่งจะต่างจาก parallel port (ที่จะมีการส่งข้อมูลพร้อมๆ กันทีละหลายๆ บิต) โดยความเร็วของการส่งข้อมูลแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับความถี่ที่เลือกใช้ในการส่งข้อมูล

4. สำหรับคอมพิวเตอร์แล้ว Parallel Port หรือที่เรียกว่า พอร์ตคู่ขนาน คือช่องทางการเชื่อมต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับภายนอก (external connectors) มีลักษณะเป็นพอร์ตตัวเมียที่มี 25 ขา อยู่ด้านหลังเคสคอมพิวเตอร์ เดิมทีเรียกพอร์ตคู่ขนานว่า "พริ้นท์เตอร์พอร์ต" (Printer Port) เพราะว่ามีการนำพอร์ตขนาน มาใช้งานติดต่อกับเครื่องพรินเตอร์เป็นหลัก โดยที่พอร์ตขนานนั้นสามารถให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่า พอร์ตแบบอนุกรม และยังสามารถส่งข้อมูลขนาน 8 บิตออกไปได้โดยตรงเลยคะ ก็เปรียบเหมือนกับรถยนต์ที่วิ่งบนถนนหลายเลน จะทำให้ไปถึงจุดปลายทางได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง แต่ว่าปัจจุบันแม้จะ ยังมีอุปกรณ์รองรับพอร์ตคู่ขนานอยู่ แต่ก็พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะใช้ต่อเชื่อมกับเครื่องพิมพ์ขนาดกลางและสแกนเนอร์บางรุ่นเท่านั้น พอร์ตคู่ขนานกลายเป็นพอร์ตรุ่นเก่า ที่ให้ความเร็วในการต่อเชื่อมที่ดีในระดับหนึ่ง เพราะมีการพัฒนาพอร์ตแบบ USB ขึ้นมาใช้และได้รับความนิยมแพร่หลายกว่า
5. หมายเลข port คือ หมายเลข port คือเลขฐาน 16 บิต ตั้งแต่ 0 ถึง 65535 หมายเลข port แต่ละหมายเลขจะถูกกำหนดโดยเฉพาะจาก OS (Operating Systems) ทาง Internet Assigned Numbers Authority (IANA) เป็นหน่วยงานกลางในการประสานการเลือกใช้ Port ว่า Port หมายเลขใดควรเหมาะสำหรับ Service ใด เช่น เลือกใช้ TCP Port หมายเลข 23 กับ Service Telnet และเลือกใช้ UDP Port หมายเลข 69 สำหรับ Service Trivial File transfer Protocol (TFTP) หมายเลข Port ถูกจัดแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ well known Ports และ Registered Ports well known Ports คือ Well Known Ports คือจะ เป็น Port ที่ระบบส่วนใหญ่ กำหนดให้ใช้โดย Privileged User (ผู้ใช้ที่มีสิทธิพิเศษ) โดย port เหล่านี้ ใช้สำหรับการติดต่อระหว่างเครื่องที่มีระบบเวลาที่ยาวนาน วัตถุประสงค์เพื่อให้ service แก่ผู้ใช้ (ที่ไม่รู้จักหรือคุ้นเคย) แปลกหน้า จึงจำเป็นต้องกำหนด Port ติดต่อสำหรับ Service นั้นๆ แล้ว Registered Ports ล่ะคือ Registered Ports จะเป็น Port หมายเลข 1024 ขึ้นไป
6. หลายต่อหลายคนคิดว่าการเข้าสาย LAN มันเป็นเรื่องยากต่อไปนี้มันไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย และมักจะเข้าใจผิดกันว่า คนที่ทำได้จะต้องจบมาทางด้านด้านคอมฯ หรือไม่ก้ทางด้านที่เกี่ยวข้องเรามาดูกันครับว่าจะต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง จัดเตรียมเรื่องของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ให้ครบถ้วนก่อน โดยอุปกรณ์โดยทั่วไปก็มี สายสัญญาณหรือ UTP Cable หรือที่บ้านเราเรียกกันว่าสาย LAN แล้วก็หัว RJ-45 (Male), Modular Plug boots หรือตัวครอบสาย หากว่ามี Wry Marker แล้วก็จะมีเหมือนกันเพราะว่าจะช่วยในการทำให้เราจำสายสัญาณได้ว่าปลายด้าน ไหนเป็นด้านไหน ซึ่งโดยส่วนมากแล้วก็จะเป็นหมายเลข ไว้ใส่ในส่วนปลายทั้งสองด้านเพื่อให้ง่ายในการตรวจสอบระบบสายสัญญาณ คีมแค้มสายสัญญาณ หรือ Crimping Tool, มีดปอกสาย หรือ Cutter
หน้าตาอุปกรณ์
สาย UTP หรือที่เราเรียกสั้น ๆ กันว่า สาย LAN และ หัว RJ-45
Crimping หรือ คีมแค้มสาย หรือคีมเข้าหัว RJ-45 และ คัดเตอร์เพื่อปลอกสาย UTP (สาย LAN)
Modular Plug boots หรือ Boot ครอบหัว RJ-45 และสาย LAN สำเร็จรูป
ได้ดูหน้าตาของอุปกรณ์กันไปแล้วนะครับ ต่อไปเรามาดูวิธีการเรียงสายในแต่ละแบบ ถ้าต้องการต่อจาก HUB ไปที่เครื่องคอมฯ เราจะใช้ TIA/EIA568A หรือ B ก็ได้ครับเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่ง แต่ถ้าเราต้องการเชื่อมต่อเครื่องคอมฯ 2 เครื่องเข้าด้วยกันหรือต่อจากเครื่องคอมฯเข้า Rounter ก็ไปดูในส่วนของ CrossOver
หมายเหตุ อุปกรณ์สมัยใหม่เราอาจจะไม่ต้องใช้แบบ CrossOver เพราะมันจะทำการ CrossOver ให้เราเองเลยอัตโนมัติถึงแม้เราจะใช้สาย LAN ที่เข้าสายแบบธรรมดาก็ตาม
การจัดเรียงสายสัญญาณจาก ซ้าย —> ไปขวา นะครับ
การเรียงสาย UTP แบบธรรมดา ตามมาตราฐาน TIA/EIA 568A (10/100)
การเรียงสาย UTP แบบธรรมดา ตามมาตราฐาน TIA/EIA 568B (10/100)
การเรียงสาย UTP แบบ CrossOver แบบ 10/100
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่างที่ 3
การเรียงสาย UTP แบบ CrossOver T568A (Gigabit)
การเรียงสาย UTP แบบ CrossOver T568B (Gigabit)
ขั้นตอนการเข้าสาย LAN
1. ใช้มีดปอกสายสัญญาณที่เป็นฉนวนหุ้มด้านนอกออกให้เหลือแต่ สายบิดเกลียวที่อยู่ด้านใน 8 เส้นแล้วก็จะเห็นด้ายสีขาว ๆ อยู่ให้ตัดทิ้งได้ โดยการปอกสายสัญญาณนั้นให้ปอกออกไว้ยาว ๆ หน่อยก็ได้ครับประมาณสัก 1 เซ็นครึ่งก็น่าจะได้นะตามตัวอย่างดังรูป
2. ใส่ Modular Plug boots เข้ากับสาย UTP ด้านที่กำลังจะต่อกับหัว RJ-45 ไว้ก่อนเลยดังรูป
3. ปอกสายเสร็จแล้วก็ให้ทำการแยกสายทั้ง 4 คู่ที่บิดกันอยู่ออกเป็นคู่ ๆ ก่อนโดยที่ให้แยกคู่ต่าง ๆ ตามลำดับต่อไปนี้
A. ส้ม-ขาวส้ม —> เขียว-ขาวเขียว —> น้ำเงิน-ขาวน้ำเงิน —> น้ำตาล-ขาวน้ำตาล
จากนั้นจึงค่อยมาทำการแยกแต่ละคู่ออกมาเป็นเส้น โดยให้ไล่สีต่าง ๆ เรียงกันตามสูตรการเรียงสาย UTP ที่ผมได้เกริ่นไปแล้วในตอนแรก ๆ ดังนี้
B. ขาวส้ม —> ส้ม —> ขาวเขียว —> น้ำเงิน —> ขาวน้ำเงิน —> เขียว —> ขาวน้ำตาล —> น้ำตาล
4. หลังจากนั้นให้ใช้คีมตัดสายสัญญาณที่เรียงกันอยู่นี้ให้มีระบบปลายสายที่ เท่ากันทุกเส้น โดยให้เหลือปลายสายยาวออกมาพอสมควร จากนั้นก็ให้เสียบเข้าไปในหัว RJ-45 ที่เตรียมมา โดยให้หันหัว RJ-45 ดังรูปจากนั้นค่อย ๆ ยัดสายที่ตัดแล้วเข้าไป โดยพยายามยัดปลายของสาย UTP เข้าไปให้สุดจนชนปลายของช่องว่าในหัว RJ-45 ก่อนยัดต้องดูด้วยนะครับว่าสายที่เราเรียงไว้มันสลับที่กันหรือเปล่า
5. จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเชื่อมต่อสายสัญญาณในช่วงนี้ก็คือต้องยัดฉนวน หุ้มที่หุ้มสาย UTP นี้เข้าไปในหัว RJ-45 ด้วย โดยพยายามยัดเข้าไปให้ได้ลึกที่สุดแล้วกัน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการหักงอของสายง่ายและเป็นการยึดสายให้ติดกับ หัว RJ-45 ไม่ให้หลุด โดยให้ยัดเข้าไปให้ได้ดังรูป
6. นำเข้าไปใส่ในช่องที่เป็นช่องแค้มหัวของ RJ-45 ในคีมที่จะใช้แค้มหัว หรือ Crimping Tool ให้ลงล็อกของคีมพอดี จากนั้นก็ให้ทำการกดย้ำสายให้แน่น เพื่อให้ Pin ทีอยู่ในหัว RJ-45 นั้นสัมผัสกับสายทองแดงที่ใส่เข้าไป จากรูปผมใช้คีมแค้มหัว RJ-45 สีดำ ไม่ต้องแปลกใจนะครับเพราะแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็จะหน้าตาแตกต่างกันออกไป ครับ แต่การใช้งานเหมือนกันทุกประการ
7. เป็นอันเสร็จครับ และสายอีกด้านก็ทำตามขั้นตอนเดิมครับ จากขั้นตอนแรก ถึงขั้นตอนสุดท้ายเหมือนเดิม อ้อ อย่าลืมเอา Boot ครอบหัว RJ-45 ใส่ก่อนนะครับ เพราะถ้าลืมก็เซ็งเลยครับ อีกข้างมี Boot แต่อีกข้างไม่มี อืม ก็เท่ห์ไปอีกแบบ
แหล่งข้อมูล : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=45148140a1720025&pli=1
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=684c231053f9310b
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=54bef6a1b5c0b594
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=42e77f6761fa0ef3
http://www.compspot.net/index.php?option=com_content&task=view&id=328&Itemid=46
http://liblog.dpu.ac.th/tit/?p=152